ประวัติ

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป

เมื่อ ครั้งโบราณงานศิลปวัฒนธรรมทั้งด้านนาฏดุริยางค์ และช่างศิลปได้รับการอุปถัมภ์อยู่ภายใต้พระบารมีพระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุ วงศ์ หรือได้รับการอนุเคราะห์จากขุนนางผู้ใหญ่ คหบดีรวมทั้งนักบวชต่อมาเมื่อมีการสถาปนากรมศิลปากรขึ้นเป็นหน่วยงานที่มี ภารกิจหลักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด สร้างสรรค์ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม จึงได้จัดตั้งสถานศึกษานาฏดุริยางค์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น โรงเรียนศิลปากรแผนกนาฏดุริยางค์ โรงเรียนสังคีตศิลป์ โรงเรียนนาฏศิลป และวิทยาลัยนาฏศิลป์ตามลำดับส่วนการจัดการศึกษาด้านช่างศิลปได้จัดตั้งสถาน ศึกษาในชื่อโรงเรียนประณีตศิลป และเป็นวิทยาลัยช่างศิลป ต่อมาตามลำดับ

ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกรมศิลปากรตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นการยกระดับการศึกษาวิชาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมให้สูงขึ้นถึงระดับปริญญา และอาศัยความตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำให้วิทยาลัยนาฏศิลป์ และวิทยาลัยช่างศิลป์ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั้ง ๑๕ วิทยาลัย มารวมอยู่ด้วย ส่งผลให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากร

 

ความหมาย เครื่องหมาย และสีประจำ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

 

สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นนามพระราชทานที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่สถาบัน ซึ่งหมายถึง สถาบันผลิตบัณฑิตทางศิลปะแห่งความเจริญ เป็นการยกระดับการศึกษาด้านดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์ เพื่อนำศิลปะมาพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศไทย

เครื่อง หมายของสถาบันฯ เป็นรูปพระพิฆเณศวร์ประทับนั่งในลักษณะเฉียงเล็กน้อยในกรอบวงกลม ด้านบนมีลวดลายไทยยกสูง ด้านล่างกรอบเป็นแถบริบบิ้น ภายในมีชื่อ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

สีประจำสถาบัน สีเขียว

สีประจำคณะศิลปวิจิตร สีชมพู

สีประจำคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สีแสด

สีประจำคณะศิลปศึกษา สีฟ้า

ความหมายของตราประจำสถาบันlogo-285x300

พระ คเณศเป็นเทพเจ้าของอินเดีย นับถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการทั้งปวง ซึ่งหมายรวมถึงความเป็นเจ้าแห่งสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ความกล้าหาญ

ตลอด จนเป็นผู้พิทักษ์ไว้ซึ่งความยุติธรรมนอกจากนี้ชาวฮินดูยังคงให้ความสำคัญกับ พระคเณศในฐานะเป็นเทพประจำความขัดข้องและเป็นผู้อำนวยความสำเร็จให้แก่ กิจการต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นพระคเณศจึงได้นามเฉพาะว่า วิฆเนศวรหมาย ถึงผู้เป็นใหญ่ในความขัดข้องหรืออุปสรรค และ สิทธิดาหมายถึงผู้อำนวยความสำเร็จผล ด้วยเหตุที่พระคเณศมีคุณสมบัติและความสำคัญดังกล่าว ชาวฮินดูจึงคติเชื่อกันว่าเมื่อจะประกอบพิธีกรรมในลัทธิศาสนา หรือศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการต้องกล่าวคำไหว้บูชาต่อพระคเณศก่อน เพื่อให้ปลอดภัยรอดพ้นจากความขัดข้องหรืออุปสรรคทั้งปวง ตลอดจนอำนวยพรให้เกิดความสำเร็จลุล่วงด้วยดีในกิจการต่างๆ

ลักษณะ ของพระคเณศ มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง มีงาเดียว (บางรูปงาหักข้างขวาหรือซ้ายก็มี) เตี้ย พุงพลุ้ย หูยาน สีกายแดง (บางตำราว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง ตามปกติมี ๔ กร) (บางตำราว่ามี ๖ หรือ ๘) ถืองาช้าง บ่วงบาศ งาหัก และขนมโมทก (ขนมต้ม) บางตำราว่าถืออาวุธ และวัตถุแตกต่างกัน เช่น ถือชาม ขนมโมทก หม้อน้ำ ดอกบัว ผลส้ม สังข์ จักร หลาว ธนู คฑา ขวาน ลูกประคำ งู ผลทับทิม หัวผักกาด เหล็กจาร และสมุดหนังสือ เป็นต้น

ดวง ตราประจำกรมศิลปากร เป็นดวงตราที่มีศูนย์กลางกว้าง ๕ เซนติเมตร ลายกลางเป็นพระคเณศประทับบนลวดลายกระหนก ลักษณะคล้ายเมฆ องค์พระคเณศในวงกลมมีรัศมีเหนือพระเศียร งาข้างขวาหัก สวมสังวาลนาค พระหัตถ์ซ้ายบนถือห่วงบาศ พระหัตถ์ขวาล่างถืองาที่หัก พระบาทซ้ายอยู่ในลักษณะขัดสมาธิ พระบาทขวาห้อยลงในวงกลมที่ล้อมรอบนั้นมีดวงแก้ว ๗ ดวง หมายถึง ศิลปวิทยา ๗ อย่าง ซึ่งอยู่ในขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมศิลปากร คือ ช่างปั้น จิตรกรรม ดุริยางคศิลป นาฏศิลป วาทศิลปะ สถาปัตยกรรม อักษรศาสตร์

พระ คเณศ ดวงตราประจำกรมศิลปากรนี้ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น ได้ให้พระพรหมวิจิตรเป็นผู้ออกแบบร่างด้วยดินสอ และให้นายปลิว จั่นแก้ว เป็นผู้ลงเส้นหมึก และมีการประกาศใช้ ดวงตรานี้เป็นตราประจำกรมศิลปากร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๘๐ เป็นต้นมา

 

โครงสร้าง อำนาจหน้าที่

โครงสร้างการบริหารสถาบันพัฒนศิลป์

flow1-1

 

 

โครงสร้างสถาบันพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

 

โครงสร้างสำนักงานอธิการดี

flow1-3

 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์

สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมมีความ เป็นเลิศในการ ผลิตบัณฑิตเป็นศิลปินอาชีพ นักวิชาการ ครูศิลปะ นักวิจัย ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตด้านศิลปวัฒนธรรม

2. การวิจัยและงานสร้างสรรค์

3. การบริการวิชาการแก่สังคม

4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์

การจัดการศึกษาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรม

ผู้บริหาร
p01-nn
p02 p03 p04
p05 p06 p07
p08 p09 P10
p11 p12 p14
p15 p16 p17
p18 p19 p20
p21 p22 p23
p24 p25 p27

p28


ผลการดำเนินงานประจำปี